วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

ธรรมาภิบาล กับการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ

โดย ผศ. สมเกียรติ พ่วงรอด

กระแสโลกาภิวัตน์(Globalization)และความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศ (Information Technology : IT) ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขึ้นในโลกมากมาย ทั้งในเชิงที่ได้ผลประโยชน์ ที่เป็นโอกาสในการเรียนรู้วิทยาการและระบบบริหารจัดการที่ก้าวหน้า และในเชิงที่เสียผลประโยชน์ ผู้มีข้อมูลมากกว่า ความรู้มากกว่า สามารถสร้างกฎ ระเบียบโลก (New World Order) ระบบเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) และใช้ความก้าวหน้าของ IT ออกมาหาประโยชน์จากประเทศที่ล้าหลังกว่า หรือปรับตัวไม่ทัน รวมทั้งประเทศไทยด้วย ดังเช่นที่สังคมไทยสามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศสะดวกรวดเร็วขึ้นจากระบบพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์(E- Commerce) รับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่งไปได้พร้อม ๆ กับประชาชนเจ้าของประเทศนั้น ๆ สามารถเรียนรู้องค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยหรือแหล่งความรู้รูปแบบอื่น ๆ ในต่างแดน ฯลฯ ในขณะเดียวกัน สังคมไทยก็ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ จากการรู้ไม่เท่าทัน เปิดเสรีทางการเงิน โดยที่ยังมิได้เตรียมการด้านระเบียบและโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศและตลาดทุน ไว้รองรับความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงของโลกเหล่านั้น อันนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมามาก
 มายทั้งทางตรง คือ การไหลเข้ามาของ วัฒนธรรมอันไม่พึงประสงค์จากต่างประเทศ ผ่านระบบเครือข่ายข้อมูลระหว่างประเทศ (Internet) และ
แม้แต่ระบบสื่อสารมวลชนปกติ เช่น วิทยุ โทรทัศน์
ทางอ้อม ที่ต้องมีคนตกงาน เป็นโรคเครียดและป่วยทางจิต ปัญหายาเสพติด ฯลฯ
ผลกระทบอันเกิดจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านขึ้นทั่วโลก จากผู้ที่ได้รับผลกระทบในเชิงที่เสียผลประโยชน์ เพราะมองเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบจากผู้ที่เจริญทางวัตถุและมีโอกาสมากกว่า ซึ่งเราเรียกกระแสการต่อต้านนี้ว่าเป็นกระแสของ คลื่นลูกที่สาม” (The Third Wave) ที่ต้องการสร้างความเป็นธรรมขึ้นในสังคมโลก โดยมีแนวคิดว่า จะต้องเริ่มต้นจากการกระจายอำนาจในการตัดสินใจจากรัฐบาลที่มีระบบและโครงสร้างการบริหารไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงตามบริบทของโลก เพื่อนำไปสู่การกระจายอำนาจด้านอื่น ๆ ในสังคม ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจการสื่อสาร พลังงาน ระบบการศึกษา ลักษณะการประกอบการ จึงอาจเกิดจากความขัดแย้งกันกัน ระหว่างคลื่นลูกที่สอง คือ สังคมอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม กับคลื่นลูกที่สาม เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งสันติสุข ไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างแนวคิดของคลื่นลูกที่สองกับแนวคิดคลื่นลูกที่สามสังคมไทยจึงต้องปรับตัว เริ่มตั้งแต่การปรับ กระบวนทัศน์ใหม่ (Paradigm Shift Change) ในการพัฒนาประเทศ ดังจะเห็นได้จากการกระจายอำนาจการตัดสินใจผ่านกระบวนการกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศ ให้ประชาชนทุกระดับ ทุกอาชีพ ทั่วประเทศ เข้ามาร่วมร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และ 9 ที่ต่างก็เน้นที่การพัฒนา คนเพื่อให้คนไทย เป็นคนดี มีความรู้ ปรับตัวได้ทันโลก (Empowerment) และการพัฒนา ระบบรอบตัวคนเก่งอันได้แก่ กฎ ระเบียบ วิธีบริหารจัดการ ให้เอื้อต่อการพัฒนาคน (Enabling Environment) ให้คนไทยทุกคน มีโอกาสร่วมสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตอย่าง
เท่าเทียมกันขึ้นในสังคมไทย อีกทั้งยังได้ให้ประชาชนทั่วประเทศได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540 ขึ้นมาเป็นกรอบในการบริหารจัดการการบริหารประเทศ โดยทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ทั้งแผนฯ 8 และ 9 รวมทั้งรัฐธรรมนูญฯ พ..2540 ต่างยึดหลัก ธรรมาภิบาล”(Good Governance) ขึ้นมาเป็นหลักการในการนำแผนฯ และรัฐธรรมนูญฯ ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งย่อมหมายถึง ความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการ เช่น ระบบบริหารราชการ ระบบการเงินการคลัง ตลอดจนระบบการควบคุมคุณภาพการบริหารจัดการ เป็นต้น เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steak Holder) ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการบริหารจัดการ ซึ่งในด้านการจัดการศึกษา อันเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา คนก็เช่นกัน นอกจากจะมี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ออกมาเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปการจัดการศึกษาอย่างชัดเจนแล้ว ยังมีแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และ 9 และแผนมหาดไทย ฉบับที่ 6 และ 7 ออกมาเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการกระจายอำนาจทางการศึกษาออกไปสู่ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมตามหลักของธรรมาภิบาลเหตุใดต้อง ธรรมาภิบาล และธรรมาภิบาล คือ อะไร
ประเทศไทยได้มีมติโดยคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2542. ให้ใช้คำว่าระบบการบริหารและการจัดการบ้านเมืองที่ดี หรือ ธรรมาภิบาล (Good Governance)” : ซึ่งเดิมเราเคยใช้ คำว่าธรรมรัฐ ประชารัฐหรือธรรมรัฐแห่งชาติการนำเอาคำนี้มาใช้ในระยะแรกถูกใช้อยู่ในงานด้านการพัฒนาทางสังคม และด้านการเงินของสถาบันการเงินนานาชาติ ประเทศไทยนำมาใช้อย่างจริงจัง เมื่อ IMF และ ADB ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540 ฉะนั้น Governance และ Good Governance ตามที่ทางUNESCAPได้ให้กำหนดเป็นแนวปฏิบัติเพื่อ
ประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐไว้ หลักการและแนวความคิดของธรรมรัฐ (Governance) ไม่ใช่สิ่งใหม่ มันเก่าเท่ากับอารยธรรมมนุษยชาติและอยู่คู่กับมนุษย์มานานมาก Governance คือกระบวนการตัดสินใจที่จะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง Governance ที่ใช้อยู่ เช่น บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) ฯลฯ
คำว่า Governance เป็นกระบวนการโดยการตัดสินใจ วิเคราะห์ได้ว่า Governance จะให้ความสำคัญกับองค์การที่มีรูปแบบ (Formal) และไม่มีรูปแบบ (Informal) คนที่อยู่ในองค์การเป็นผู้ตัดสินใจ และกระทำตามโครงสร้างและแนวทางที่ได้กำหนดไว้
รัฐบาลเป็นผู้บริหารและจัดการประเทศ ฉะนั้นในการกำหนดนโยบายและแผนการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จะต้องออกมาจากนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะ
รัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวง และ ทบวงต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น